ขั้นตอนการขอเลขที่บ้าน
เมื่อเพื่อน ๆ บล้อกสร้างบ้านกันเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการขอใช้บริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในบ้านอ่ะนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการขอใช้น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพย์ และหลักฐานในการขอใช้บริการต่าง ๆ เหล่านั้นก็ต้องใช้หลักฐานของความเป็นบ้านยื่นประกอบกันด้วย นั่นก็คือ "ทะเบียนบ้าน"
ห้องนอนเพื่อสุขภาพ
เมื่อเพื่อน ๆ บล้อกสร้างบ้านกันเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการขอใช้บริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในบ้านอ่ะนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการขอใช้น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพย์ และหลักฐานในการขอใช้บริการต่าง ๆ เหล่านั้นก็ต้องใช้หลักฐานของความเป็นบ้านยื่นประกอบกันด้วย นั่นก็คือ "ทะเบียนบ้าน"
![]() |
ทะเบียนบ้าน |
วันนี้บ้านแสนรักได้นำสาระและ ขั้นตอนการขอเลขที่บ้าน หรือ ขอบ้านเลขที่ใหม่ มาฝากกันนะคะ มาดูกันค่ะ ว่าการจะมีบ้านเลขที่สักหลังต้องมีขั้นตอนการขออย่างไร ยื่นที่ไหน และใช้เอกสารประกอบชนิดใดบ้าง
“ บ้าน” ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ. 2534 (รวมฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551) หมายความว่า โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และให้หมายความรวมถึงแพ หรือเรือซึ่งจอดเป็นประจำและใช้เป็นที่อยู่ประจำ หรือสถานที่ หรือยานพาหนะ ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำได้ด้วย
การขอเลขที่บ้าน
เมื่อมีการปลูกสร้างบ้าน เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อ ขอเลขที่บ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันที่สร้างเสร็จ เมื่อนายทะเบียนรับคำร้องพร้อมหลักฐานของผู้แจ้งครบถ้วนแล้ว จะต้องตรวจสอบว่าบ้านที่ขอเลขที่นั้น มีลักษณะเป็นโรงเรียนหรือสิ่งปลูกสร้างที่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ (มีสภาพคงทนถาวร)หรือไม่ ถ้าถูกต้องกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านหรือนายทะเบียนจะกำหนดเลขที่บ้านให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน(กรณีบ้านปลูกอยู่ในเขตเทศบาล) หรือภายใน 30 วัน (กรณีบ้านปลูกอยู่นอกเขตเทศบาล)
![]() |
ที่ว่าการอำเภอ |
ทะเบียนบ้าน คือ ทะเบียนบ้านที่นายทะเบียนออกให้บ้านแต่ละหลัง กำหนดให้มีเลขประจำบ้าน(เลขที่บ้าน) ซึ่งปลูกสร้างโดยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างอาคาร
นอกจากทะเบียนบ้านถาวรแล้ว ยังมีทะบียนบ้านแบบที่เรียกว่า ทะเบียนบ้านชั่วคราว ด้วยนะคะ นั่นคือคือ ทะเบียนบ้านที่นายทะเบียนออกให้บ้านที่ปลูกสร้างในที่สาธารณะ หรือโดยบุกรุกป่าสงวน หรือไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือไม่ได้รับเอกสารสิทธิ์ จะได้รับการแก้ไขจากทะเบียนบ้านชั่วคราว ให้เป็นทะเบียนบ้านปกติทำได้หลังจากได้ยื่นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อเจ้าหน้าที่ครบถ้วน
-ถ้าบ้านปลูกอยู่ในเขตเทศบาลที่ยังมีผู้ใหญ่บ้านอยู่ในเขตเทศบาล เจ้าบ้านจะต้องแจ้งขอเลขที่บ้านต่อผู้ใหญ่บ้านเพื่อออกใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) สำหรับนำไปประกอบการยื่นคำร้องขอเลขที่บ้านที่งานทะเบียนราษฎรของทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลที่บ้านปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่ เพื่อแจ้งขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน
-ถ้าบ้านปลูกอยู่นอกเขตเทศบาล เจ้าบ้านจะต้องแจ้งขอเลขที่บ้านต่อผู้ใหญ่บ้าน เพื่อออกใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) สำหรับนำไปประกอบการยื่นคำร้องที่งานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอที่บ้านปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่ เพื่อแจ้งขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน
หลักฐานที่ต้องใช้ในการขอเลขที่บ้าน หรือทะเบียนบ้านใหม่ ได้แก่
(1) ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) ออกโดยผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนันท้องที่ที่บ้านที่ปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่
(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำร้องพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ จำนวน 1 ชุด
(3) เอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดินของบ้านที่ปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ เช่น โฉนดที่ดิน , น.ส.3 ,ส.ป.ก เป็นต้น กรณีสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่บนที่ดินของผู้อื่น ต้องมีหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินนั้นของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นประกอบด้วย โดยใช้เอกสารดังนี้
- หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างบ้าน (กรณีสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่บนที่ดินของผู้อื่น) โดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน/ผู้ที่มีชื่อร่วมกันในกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นๆทุกคน ลงลายมือชื่อพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกฉบับ จำนวน 1 ชุด
*หมายเหตุ* กรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเสียชีวิต แนบสำเนามรณบัตรและให้ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินนั้นๆทุกคน มีหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินโดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน จำนวนคนละ 1 ชุด
-กรณียื่นในนามบริษัท , ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฯลฯ ต้องมีหนังสือรับรองการจัดตั้ง หรือหนังสือรับรองโดยแนบสำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามทุกคน ลงลายมือชื่อพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกฉบับ จำนวน 1 ชุด
(4) ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือ หนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้าง
(5) หนังสือมอบอำนาจ / มอบหมายจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน กรณีไม่สามารถมาติดต่อขอเลขที่บ้านด้วยตนเอง พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ /มอบหมายและผู้รับมอบอำนาจ/มอบหมาย รวมทั้งพยานบุคคล จำนวน 2 คน ลงลายมือชื่อ หรือลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือข้างขวาในหนังสือมอบอำนาจ/มอบหมาย พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบถ้วนทุกฉบับ จำนวน 1 ชุด
(6) รูปถ่ายบ้านที่ปลูกสร้างเสร็จทั้ง 4 ด้าน (ด้านหน้า – ด้านหลัง - ด้านข้างซ้าย - ด้านข้างขวา) แต่สถานที่ที่รับแจ้งบางแห่งก็ไม่จำเป็นต้องใช้นะคะ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการขอเลขที่บ้าน
1.บ้านที่ปลูกสร้างนานไว้นานแล้วแต่ยังไม่มีเลขที่บ้าน เจ้าบ้านสามารถขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้านได้
2.การปลูกสร้างบ้านในเขตท้องที่ที่ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร เช่น ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น จะต้องแจ้งขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร กรณีไม่ขออนุญาตปลูกสร้าง นายทะเบียนจะกำหนดเลขที่บ้านและจัดทำทะเบียนบ้านชั่วคราวให้ ซึ่งการแก้ไขทะเบียนบ้านชั่วคราวให้เป็นทะเบียนบ้านปกติ นั้น สามารถทำได้โดยเจ้าของบ้านจะต้องไปทำเรื่องการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารให้เรียบร้อยแล้ว จึงนำหลักฐานไปยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนเพื่อขอแก้ไขทะเบียนบ้าน
3.บ้านที่ปลูกสร้างโดยการบุกรุกที่สาธารณะ หรือปลูกในพื้นที่ป่าสงวน สามารถขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้านได้ แต่จะเป็นทะเบียนบ้านชั่วคราว
4.การไม่แจ้งขอเลขที่บ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ปลูกสร้างบ้านเสร็จเป็นความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
5.การกำหนดเลขที่บ้านของบ้านแต่ละหลังจะกำหนดให้เพียงหมายเลขเดียว แต่ถ้าเป็นบ้านที่ปลูกเป็นตึกแถว ห้องแถว หรืออาคารชุด จะกำหนดเลขที่บ้านให้ทุกห้องโดยถือว่าห้องๆหนึ่งคือบ้านหลังหนึ่งค่ะ
...........................................................................................................................
ห้องนอนเพื่อสุขภาพ


ที่ก่อเกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง และควรเปลี่ยนผ้าปูอย่างน้อยสัปดาห์ ละ 2 ครั้ง ส่วนหมอนนั้น ถ้าทำด้วยใยสังเคราะห์ก็จะเป็นการดีทีเดียว เนื่องจากนำมาซักทำ ความสะอาดได้ ส่วนของผ้าห่มก็เช่นกันควรจะเลือกที่เป็นใยสังเคราะห์ เครื่องประดับห้อง ควรมีน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นที่เก็บกักฝุ่นและตัวไร เช่น ตุ๊กตาขนฟู หมอนประดับที่ไม่จำเป็น ส่วนเก็บหนังสือและส่วนแต่งตัว ควรแยกเป็นสัดส่วน เสื้อผ้า
เก็บไว้ในตู้ให้เรียบร้อย บริเวณที่แต่งหน้าผัดแป้งใส่น้ำหอม ควรมีฉากปรับเลื่อนกั้นออกจากส่วนนอน หรือจะออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของห้องน้ำก็ได้ พื้นห้องนอน ควรปูด้วยไวนีลหรือพื้นไม้ ไม่ควรปูพรม ผ้าม่าน เลือกผ้าที่ฝุ่นสะสมยาก และแบบที่ไม่เป็นจีบซับซ้อน หรือเลือกมู่ลี่ที่ถอดทำความสะอาดได้ง่าย หน้าต่างและการระบายอากาศ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าเราใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อความสบาย แต่ก็ควรเปิดหน้าต่างให้อากาศหมุนเวียน และเปิดม่านออกให้ห้องนอนได้รับแสงแดดพอสมควร เพราะห้องนอนควรมีอากาศที่สดชื่น ปราศจากกลิ่นควันของบุหรี่ หรือควันธูป หรือน้ำหอมต่าง ๆ รวมทั้งกลิ่นอาหาร การติดเครื่องกรองอากาศ ควบคู่กับเครื่องปรับอากาศก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้แล้วแต่กรณี การรักษาห้องนอนให้ปลอดมลพิษ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมพลานามัย ซึ่งจะต้องควบคู่กับการสร้างเสริมจิตใจที่แจ่มใส หากคุณจะเสริมแต่งผนังให้ดูสนชื่นด้วยภาพเขียนสักภาพละก็ ลงมือจัดการได้ทันทีค่ะ ก่อนจะเกิดโรคเครียดขึ้นมาอีกโรคหนึ่ง..



อัตราดอกเบี้ยลอยตัวตลอดสัญญากู้ อัตราดอกเบี้ยแบบนี้จะขึ้นลงตามตลาด มีตั้งแต่อัตรา 7-9% ประเภทที่ 2 คืออัตราดอกเบี้ยคงที่ จะไม่ขยับอัตราตลอดอายุสัญญา ส่วนใหญ่จะอยู่ในอัตรา 5.5-6.5% และสุดท้ายคืออัตราดอกเบี้ยแบบผสม กำหนดให้ช่วง 1-3 ปีแรกจะคงตัวหลังจากนั้นก็จะปล่อยตัวเป็นแบบลอยตัว
นั่นหมายความว่าถ้าอัตราดอกเบี้ยสูง ค่างวดที่ต้องจ่ายก็จะสูงไปด้วย จากที่คุณเคยมองว่าอัตราดอกเบี้ยต่างกัน “แค่” 1% แต่หารู้ไม่ว่ามันจะทำให้ค่าผ่อนชำระของคุณแตกต่างกัน “ตั้ง” 5-7% เลยทีเดียว ลองคำนวณดูนะว่าจริงหรือไม่

เมื่อรู้ถึงอัตราดอกเบี้ยแล้ว ลองมาดูว่าคุณจะมีความสามารถในการกู้มากเพียงใด? โดยทางธนาคารจะคิดจากยอดชำระต่อเดือนที่คุณสามารถผ่อนได้ ถ้ามันเป็นวงเงินที่น้อย คุณก็สามารถเพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระเพื่อเพิ่มวงเงินได้ แต่โดยทั่วไปแล้วธนาคารไม่ได้อนุมัติวงเงินให้เต็มจำนวนตามราคาบ้านนะ


การกู้ระยะเวลาน้อยจะทำให้คุณสามารถปลดหนี้ได้โดยไว แต่ค่างวดก็จะสูง ในกรณีที่คุณต้องการเงินกู้วงเงินสูงแต่ความสามารถในการผ่อนชำระต่ำ คุณควรขยายระยะเวลากู้ให้มากขึ้นอาจจะเป็น 25-30 ปีเพราะวงเงินกู้เท่ากัน ดอกเบี้ยเท่ากัน ระยะเวลาผ่อนนานเท่าไหร่ เงินค่างวดก็น้อยลงเท่านั้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณต้องวางแผนการเงินในระยะยาวด้วย ถ้าความสามารถชำระเงินตอนนี้ยังสบาย แต่คุณเล็งเห็นว่าอีกปี 2 ปีจะไม่เป็นเช่นนั้นเพราะคุณอาจจะมีภาระที่มากขึ้น เช่น การมีบุตร เป็นต้น เพื่อความสบายใจคุณอาจจะเลือกระยะเวลากู้นานที่สุดเป็น 25-30 ปีก็ได้ แล้วหลังจากนั้นถ้าครอบครัวของคุณมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็สามารถถอนชำระเงินงวดเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดเดิมไว้ก็ได้
โดยทั่วไปแล้วผู้กู้ส่วนใหญ่มักจะเลือกระยะเวลาการกู้ที่ตัวเลข 15-20 ปี จำนวนผู้กู้ที่เลือกระยะเวลาการกู้ 25-30 ปีมีค่อนข้างน้อย ซึ่งก็ต้องวางแผนการเงินให้ดี ๆ คำนึงถึงความสามารถด้านการเงินไว้เป็นหลัก
เรื่องการเงินกับการซื้อบ้านไม่ใช่มีเพียงแค่การกู้ซื้อบ้านเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังอาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมาอีก เช่น ค่าประเมินหลักประกัน 1,500 บาท (สำหรับการกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท) และ 1,900 บาท (สำหรับการกู้ที่เกิน 5แสนบาท) โดยชำระในวันที่ยื่นกู้
เรื่องการเงินกับการซื้อบ้านไม่ใช่มีเพียงแค่การกู้ซื้อบ้านเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังอาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมาอีก เช่น ค่าประเมินหลักประกัน 1,500 บาท (สำหรับการกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท) และ 1,900 บาท (สำหรับการกู้ที่เกิน 5แสนบาท) โดยชำระในวันที่ยื่นกู้
ค่าตรวจสอบผลการก่อสร้าง ต่อเติมหรือซ่อมแซม ครั้งละ 500 บาท ค่าดำเนินการเพื่อขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจำนอง รายละ 300 บาท ชำระในวันทำนิติกรรม จะเห็นได้ว่าจะซื้อบ้าน 1 หลังมีค่าใช้จ่ายที่ต้องตระเตรียมมากมาย เพราะฉะนั้นจึงควรมีการวางแผนการเงินให้รอบคอบเสียก่อน
แต่ถ้าคุณซื้อบ้านด้วยเงินสด โดยการจ่ายเพียงครั้งเดียวและไม่ได้นำบ้านไปซื้อจำนอง คุณสามารถนำตัวเลข 2 แสนบาทไปหักลดหย่อนภาษีรายได้ส่วนบุคคลได้เป็นเวลา 2 ปีเลยทีเดียว คิดเป็นปีละครึ่งหนึ่ง แต่ถ้ามีการผ่อนงวด สามารถนำไปลดหย่อนได้ 1 แสนบาท ทั้งนี้มีผลตั้งแต่ 7 กันยายน 2544-6 กันยายน 2545
...........................................................................................................................
...........................................................................................................................

ผู้ซื้อควรตรวจสอบว่าโครงการได้รับการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ตามแบบแปลนเดียวกับที่ได้กระทำสัญญา และโดยเฉพาะในรายที่ผู้ประกอบการมีการแยกทำสัญญาขายที่ดิน และสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคารไว้เป็นคนละฉบับ ผู้ซื้อควรให้ผู้ประกอบการได้แนบแบบแปลนที่ขออนุญาตไว้ท้ายสัญญาที่กระทำระหว่างกัน
ความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการ

ขนาดและผังโครงการ ว่ามีความเหมาะสมกับสภาพการอยู่อาศัย ปัจจุบันคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดิน กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสาธารณูปโภคสาธารณูปการที่ต้องจัดให้มีในที่ดินจัดสรรไว้ระดับหนึ่ง ว่าแต่ละขนาดโครงการควรมีพื้นที่เว้นว่าง และสาธารณูปโภค-สาธารณูปการอย่างไร ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ส่วนวิธีการจัดวางผังก็ต้องพิจารณาไปตามที่ผู้ประกอบการยื่นขออนุญาตเข้ามา ฉะนั้นผู้ซื้อควรตรวจสอบการวางผังที่เหมาะสมกับสภาพการอยู่อาศัย และดูไม่แออัดมากจนเกินไป
พื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง หรือปรับระดับให้สูงกว่าถนนสาธารณะนอกโครงการ การตรวจสอบว่าพื้นที่ดังกล่าวเคยมีน้ำท่วมขังหรือไม่ ผู้ซื้ออาจสังเกตได้จากเสาไฟฟ้า หรือรั้วบ้านดั้งเดิมในบริเวณนั้น หากพื้นที่ดังกล่าวเคยมีน้ำท่วมขังก็มักปรากฏ รอยคราบน้ำหรือคราบตะไคร่น้ำ บริเวณเสาไฟฟ้าหรือรั้วบ้านให้สามารถสังเกตเห็นได้
ความจำเป็นในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลาง เช่น สโมสร สระว่ายน้ำ ฯลฯ ว่ามีความจำเป็นต้องใช้มากน้อยแค่ไหน เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้จะบวกเป็นต้นทุนบ้านที่เพิ่มขึ้น สโมสรหรือสระว่ายน้ำนั้น ส่วนใหญ่จะถูกจัดไว้นอกเหนือจากสาธารณูปการตามที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้ประกอบการจะนับรวมอยู่ในต้นทุนการดำเนินโครงการ เมื่อภายหลังผู้ประกอบการได้มอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของนิติบุคคลโครงการบ้านจัดสรร (ถ้ามี) ก็จะกลายเป็นภาระที่ผู้ซื้อบ้านต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ทั้งก่อนและหลังการเข้าอยู่อาศัย
วิธีการผ่อนชำระให้เหมาะสมกับระดับรายได้และความสามารถในการผ่อนชำระปัจจุบันการผ่อนชำระสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน มีทั้งดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) และดอกลอยตัว (Float Rate) ผู้ซื้อควรตรวจสอบกับสถาบันการเงิน ว่าอัตราดอกเบี้ยแบบใดที่เหมาะสมกับอาชีพ ความสามารถในการผ่อนชำระ รวมถึงเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นในภายหลังต่อการเลือกใช้อัตราดอกเบี้ยแบบนั้น
การให้บริการสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น การให้บริการไฟฟ้าประปา หรือพื้นที่จัดเก็บขยะ ทั้งนี้เนื่องจากมีโครงการเป็นจำนวนไม่น้อยที่อยู่นอกเขตการให้บริการของการประปานครหลวง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องขออนุญาตขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในโครงการ ผู้ซื้อควรตรวจสอบว่า ในกรณีเช่นนี้ค่าน้ำจะจัดเก็บอย่างไร และใครเป็นผู้ดูแลดำเนินการ
วิธีการผ่อนชำระให้เหมาะสมกับระดับรายได้และความสามารถในการผ่อนชำระปัจจุบันการผ่อนชำระสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน มีทั้งดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) และดอกลอยตัว (Float Rate) ผู้ซื้อควรตรวจสอบกับสถาบันการเงิน ว่าอัตราดอกเบี้ยแบบใดที่เหมาะสมกับอาชีพ ความสามารถในการผ่อนชำระ รวมถึงเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นในภายหลังต่อการเลือกใช้อัตราดอกเบี้ยแบบนั้น
ภาระผูกพันของที่ดิน หรือโครงการที่มีต่อสถาบันการเงิน ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะขอสินเชื่อในการดำเนินโครงการโดยนำที่ดินที่นำมาทำการจัดสรรเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ฉะนั้นผู้ซื้อควรตรวจสอบให้ชัดเจนว่า เมื่อถึงระยะเวลาโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินภาระผูกพันนี้ยังคงอยู่ หรือสามารถปลอด จำนองได้ทันที
ตรวจสอบการจดภาระจำยอมของถนนที่เข้าออกโครงการ หากเป็นไปได้ควรเลือกโครงการที่ติดกับถนนสาธารณะปัจจุบันมีโครงการจัดสรรที่ดินเป็นจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้อยู่ติดถนนสาธารณะ และผู้ประกอบการต้องขอจดภาระจำยอมขอผ่านทางจากเจ้าของที่ดินรายอื่น ซึ่งหากการจดภาระจำยอมดังกล่าวมีเงื่อนไขหรือระยะเวลา ก็อาจจะก่อปัญหากับผู้ซื้อในภายหลังได้

พื้นที่โดยรอบโครงการ
โรงงานบางแห่งมีการดำเนินการเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน ฉะนั้นเมื่อเข้าไปดูโครงการในตอนกลางวันก็อาจจะไม่ได้กลิ่น หรือควันอันเกิดจากการเดินเครื่องจักร จึงควรตรวจสอบให้แน่ชัดทั้งสภาพโดยรอบบริเวณโครงการ ทั้งในช่วงเวลากลางวัน และในช่วงเวลากลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงเสียง และกลิ่นควันจากโรงงานอุตสาหกรรม
ตรวจสอบไม่ให้โครงการอยู่ใกล้ศาสนสถานเกินไป โดยเฉพาะเมรุเพราะนอกจากจะเกิดสภาพ และกลิ่นควันไม่พึงประสงค์แล้ว ในช่วงเทศกาลสำคัญทางศาสนา ศาสนสถานเหล่านี้จะมีคนพลุกพล่านอันจะก่อปัญหาต่อการเดินทางสัญจร
ตรวจสอบว่าโครงการระบายน้ำลงพื้นที่ใด หากไม่ใช่สำรองสาธารณะประโยชน์ หรือพื้นที่ที่ถูกจัดไว้ให้ใช้เป็นพื้นที่รับน้ำก็อาจส่งผลต่อปัญหาการระบายน้ำในอนาคตหากมีการก่อสร้างโครงการเพิ่มมากขึ้นใส่ใจกับการเดินทางในช่วงเวลาค่ำคืน
คนในบ้านอาจมีเหตุสุดวิสัยทำให้ต้องเดินทางกลับหรือออกจากบ้านในช่วงเวลาค่ำคืน จึงควรพิจารณาความสะดวกในการเดินทางโดยเฉพาะการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะรวมถึงควรพิจารณาลักษณะพื้นที่ว่าในช่วงเวลาค่ำคืนเปลี่ยวหรือไม่เวลาในการเดินทางไปที่ทำงานและโรงเรียนลูก ทั้งเช้า และเย็น ผู้ซื้อควรทดลองเดินทางทั้งในช่วงเช้า ช่วงเย็น และช่วงเวลาเร่งด่วน
ตรวจสอบถึงชุมชนในอนาคต มีผู้ซื้ออยู่อาศัยเป็นจำนวนไม่น้อยที่คิดเพียงซื้อบ้าน แต่ลืมใส่ใจปัญหาที่จะเกิดตามมาในภายหลัง พึงระลึกเสมอว่าการซื้อที่อยู่อาศัยมิใช่เป็นเพียงซื้อบ้านเท่านั้น แต่เกี่ยวเนื่องกับชุมชนในอนาคต ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบได้โดยพิจารณาจากวิธีการบริหารดูแลชุมชนในโครงการเก่าที่ผู้ประกอบการดำเนินการมาแล้ว
.....................................................................................................................
ทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นทางคมนาคมที่สะดวกหรือไม่โครงการบ้านจัดสรรที่ดีควรอยู่ใกล้เส้นทางคมนาคมที่สะดวก เช่น ถนนสายหลัก มี รถประจำทางผ่านหลายสาย หรืออยู่ใกล้ทางด่วน สถานีรถไฟ สถานีรถไฟฟ้า เพื่อ เพิ่มความสะดวกในการเดินทาง
อยู่ในย่านที่ไม่ไกลจากแหล่งชุมชนมากนักควรเลือกโครงการบ้านจัดสรรที่อยู่ไม่ไกลจากแหล่งชุมชนจนเกินไป แต่ควรห่างจาก ย่านที่ผู้คนพลุกพล่าน เพราะจะช่วยทำให้สภาพแวดล้อมภายในบ้านของคุณมีความ เป็นส่วนตัวและสงบสุขยิ่งขึ้น


เพื่อเพิ่มความสะดวกและปลอดภัยแก่ครอบครัวของคุณ ควรเลือกโครงการบ้านจัด สรรที่อยู่ใกล้หน่วยบริการชุมชนที่สำคัญ เช่น สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง โรงเรียน โรงพยาบาล หรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลทั่วไปของโครงการบ้านจัดสรร ตรวจสอบว่ามีชื่อผู้จัดสรรโครงการอยู่ในโฉนดที่ดินหรือไม่ ที่ดินต้องปราศจากภาระ ผูกพันใดๆหรือไม่ เช่น การจำนอง รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสาธารณูปโภคต่างๆ ในโครงการ เช่น ระบบประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ถนน รวมถึงสวนสาธารณะ สนาม เด็กเล่น ฯลฯ ว่าดำเนินการขออนุญาตแล้วหรือไม่ หากยังไม่เรียบร้อยนั้นมีสถาบัน การเงินเป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันการก่อสร้างกับคณะกรรมการควบคุมและจัดสรรที่ ดินหรือยัง
ตรวจสอบสัญญาต่างๆอีกครั้ง ก่อนลงมือเซ็นสัญญา ก่อนการเซ็นสัญญาจองและสัญญาจะซื้อจะขาย คุณควรตรวจสอบรายละเอียดของสัญญาอย่างละเอียดอีกครั้ง โดยเฉพาะในส่วนที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการ เช่น การรับประกันระบบเงินดาวน์ (ESCROW ACCOUNT) การสร้างและส่งมอบบ้านตามกำหนดสัญญา การโอนบ้านและที่ดิน ฯลฯ หากพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วก็ลงมือเซ็นสัญญาได้เลย